วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

กฏหมายคอมพิวเตอร์

กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
ตอน : การกำหนดฐานความผิดและบทกำหนดโทษ
การ พัฒนากฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในเบื้องต้นนั้น พัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงลักษณะการกระทำความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ซึ่งอาจสรุปความผิดสำคัญได้ 3 ฐานความผิด คือ- การเข้าถึงโดยไม่มีอำนาจ (Unauthorised Access)- การใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ (Computer Misuse)- ความผิดเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ (Computer Related Crime)ทั้งนี้ ความผิดแต่ละฐานที่กำหนดขึ้นดังที่สรุปไว้ข้างต้น มีวัตถุประสงค์ในการให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. ความผิดฐานเข้าถึงโดยไม่มีอำนาจหรือโดยฝ่าฝืนกฎหมาย และการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบการกระทำความผิดด้วยการเข้าถึงโดยไม่มีอำนาจ หรือโดยฝ่าฝืนกฎหมาย และการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบ ถือเป็นการกระทำที่คุกคามหรือเป็นภัยต่อความปลอดภัย (Security) ของระบบคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูล เมื่อระบบไม่มีความปลอดภัยก็จะส่งผลกระทบต่อความครบถ้วน (Integrity) การรักษาความลับ (Confidential) และเสถียรภาพในการใช้งาน (Availability) ของระบบข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์(1) การเข้าถึงโดยไม่มีอำนาจการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายนี้ อาจเกิดได้หลายวิธี เช่น การเจาะระบบ (Hacking or Cracking) หรือการบุกรุกทางคอมพิวเตอร์ (Computer Trespass) เพื่อทำลายระบบคอมพิวเตอร์หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูล หรือเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้เป็นความลับ เช่น รหัสลับ (Passwords) หรือความลับทางการค้า (Secret Trade) เป็นต้นทั้งนี้ ยังอาจเป็นที่มาของการกระทำผิดฐานอื่นๆต่อไป เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อฉ้อโกงหรือปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื่องเป็นมูลค่ามหาศาลได้คำว่า "การเข้าถึง (Access)" ในที่นี้ หมายความถึง การเข้าถึงทั้งในระดับกายภาพ เช่น ผู้กระทำความผิดกระทำโดยวิธีใดวิธีหนึ่งโดยนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นั้นเอง และหมายความรวมถึง การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งแม้บุคคลที่เข้าถึงจะอยู่ห่างโดยระยะทางกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ แต่สามารถเจาะเข้าไปในระบบที่ตนต้องการได้"การเข้าถึง" ในที่นี้จะหมายถึง การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ ดังนั้น จึงอาจหมายถึง การเข้าถึงฮาร์ดแวร์ หรือส่วนประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลที่ถูกบันทึกเก็บไว้ในระบบเพื่อใช้ในการส่งหรือโอนถึงอีกบุคคล หนึ่ง เช่น ข้อมูลจราจร เป็นต้นนอกจากนี้ "การเข้าถึง" ยังหมายถึงการเข้าถึงโดยผ่านทางเครือข่ายสาธารณะ เช่น อินเทอร์เนต อันเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายหลายๆเครือข่ายเข้าด้วยกัน และยังหมายถึง การเข้าถึงโดยผ่านระบบเครือข่ายเดียวกันด้วยก็ได้ เช่น ระบบ LAN (Local Area Network) อันเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆกันเข้า ด้วยกันสำหรับมาตราดังกล่าวนี้ กำหนดให้การเข้าถึงโดยมิชอบเป็นความผิด แม้ว่าผู้กระทำจะมิได้มีมูลเหตุจูงใจเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายก็ตาม ทั้งนี้ เพราะเห็นว่าการกระทำดังกล่าวนั้นสามารถก่อให้เกิดการกระทำผิดฐานอื่นหรือ ฐานที่ใกล้เคียงค่อนข้างง่ายและอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง อีกทั้งการพิสูจน์มูลเหตุจูงใจกระทำได้ค่อนข้างยาก

2) การลักลอบดักข้อมูลมาตรานี้บัญญัติฐานความผิดเกี่ยวกับการลักลอบดักข้อมูล โดยฝ่าฝืนกฎหมาย (Illegal Interception) เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสื่อ สาร (The Right of Privacy of Data Communication) ในทำนองเดียวกับการติดต่อสื่อสารรูปแบบเดิมที่ห้ามดักฟังโทรศัพท์หรือแอบ บันทึกเทปลับ เป็นต้น"การลักลอบดักข้อมูล" หมายถึง การลักลอบดักข้อมูลโดยวิธีการทางเทคนิค (Technical Means) เพื่อลักลอบดักฟัง ตรวจสอบหรือติดตามเนื้อหาสาระของข่าวสารที่สื่อสารถึงกันระหว่างบุคคล หรือกรณีเป็นการกระทำอันเป็นการล่อลวงหรือจัดหาข้อมูลดังกล่าวให้กับบุคคล อื่น รวมทั้งการแอบบันทึกข้อมูลที่สื่อสารถึงกันด้วยทั้งนี้ วิธีการทางเทคนิคยังหมายถึง อุปกรณ์ที่มีสายเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย และหมายรวมถึงอุปกรณ์ประเภทไร้สาย เช่น การติดต่อผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เป็นต้นอย่างไรก็ดี การกระทำที่เป็นความผิดฐานลักลอบดักข้อมูลนั้น ข้อมูลที่ส่งต้องมิใช่ข้อมูลที่ส่งและเปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้ได้ (Non-Public Transmissions) การกระทำความผิดฐานนี้จึงจำกัดเฉพาะแต่เพียงวิธีการส่งที่ผู้ส่งข้อมูล ประสงค์จะส่งข้อมูลนั้นให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ดังนั้น มาตรานี้จึงมิได้มีประเด็นที่ต้องพิจารณาถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลที่ส่งด้วย แต่อย่างใด

3 ความผิดฐานรบกวนระบบความผิดดังกล่าวนี้คือ การรบกวนทั้งระบบข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ (Data and System Interference) โดยมุ่งลงโทษผู้กระทำความผิดที่จงใจก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลและระบบ คอมพิวเตอร์ โดยมุ่งคุ้มครอง ความครบถ้วนของข้อมูล และเสถียรภาพในการใช้งานหรือการใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึก ไว้บนสื่อคอมพิวเตอร์ได้เป็นปกติตัวอย่างของการกระทำความผิดฐานดังกล่าวนี้ ได้แก่ การป้อนข้อมูลที่มีไวรัสทำลายข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือการป้อนโปรแกรม Trojan Horse เข้าไปในระบบเพื่อขโมยรหัสผ่านของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับเพื่อใช้ลบ เปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อมูลหรือกระทำการใดๆอันเป็นการรบกวนข้อมูลและระบบ หรือการป้อนโปรแกรมที่ทำให้ระบบปฏิเสธการทำงาน (Daniel of Service) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก หรือการทำให้ระบบทำงานช้าลง เป็นต้น

4 การใช้อุปกรณ์ในทางมิชอบมาตรานี้จะแตกต่างจากมาตราก่อนๆ เนื่องจากเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการผลิต แจกจ่าย จำหน่าย หรือครอบครองอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการกระทำความผิด เช่น อุปกรณ์สำหรับเจาะระบบ (Hacker Tools) รวมถึงรหัสผ่านคอมพิวเตอร์ รหัสการเข้าถึง หรือข้อมูลอื่นในลักษณะคล้ายคลึงกันด้วยแต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึง อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อปกป้องระบบหรือทดสอบระบบ แต่การจะนำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ได้ก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องมีอำนาจ หรือได้รับอนุญาตให้กระทำได้เท่านั้นสำหรับการแจกจ่ายนั้น ให้รวมถึงการส่งข้อมูลที่ได้รับเพื่อให้ผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง (Forward) หรือการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน (Hyperlinks) ด้วยสำหรับเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย เราก็คงจะว่ากันอย่างคร่าวๆเพียงเท่านี้ เพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำหรับเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจด้วย เพราะว่ากฎหมายไอทีนั้น มีอยู่มากมายหลายชนิด ต้องแบ่งๆกันไป

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

เที่ยวสวิซเซอร์แลนด์กันนน


Swizt!





โปรแกรมสำหรับปีนี้ ก็ยังคงคล้าย ๆ ปีที่แล้ว คือคละกันระหว่างเมืองและภูเขา ซึ่งมดจะพาเที่ยวภูเขาทั้งหมด 3 ภูเขาคือ

Pilatus - ยอดเขาพิลาทุส ถือเป็นเขาน้องเล็กสุดใน 3 เขาที่มดจะพาไป คือไม่สูงมากนัก อยู่ในเขตเมือง Luzern ค่ะ ซึ่งความพิเศษของที่นี่ อยู่ที่รถไฟที่ชันที่สุดในโลกค่ะ และยังได้เห็นวิวทิวทัศน์ 360 องศา ของเทือกเขาและทะเลสาบ Luzern อันงดงามด้วยค่ะ


Matterhorn / Zermatt - ยอดเขามัทเทอร์ฮอร์น ยอดเขาที่ว่ากันว่าเป็นสัญลักษณ์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ตั้งอยู่ในเมืองเล็ก ๆ น่ารักอย่างแซร์มัท (Zermatt) การจะได้เห็นยอดเขานี้ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้เห็นเมื่อไปเยือนค่ะ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเป็นหลัก ซึ่งมดจะพยายามอย่างมากที่สุด ที่จะให้ทุกท่านได้ยลยอดเขามัทเทอร์ฮอร์นนี้ค่ะ

Jungfraujoch - ยอดเขายุ้งเฟราย็อค เป็นยอดเขาที่ว่ากันว่าถ้าได้ขึ้นไปเยือนก็เหมือนได้ไปสวรรค์ดี ๆ นี่เอง ด้วยความที่มีหิมะตลอดทั้งปี และความงดงามบนนั้น ทำให้ยุ้งเฟราไม่เคยเหงา และยังเป็นที่ตั้งสถานีรถไฟที่สูงที่สุดในยุโรปอีกด้วย
ไม่ใช่แค่นี้ค่ะ เพราะมดยังพาไปเที่ยวชมเมืองต่าง ๆ ที่จะทำให้คุณรู้จัก สวิตเซอร์แลนด์มากขึ้นไปอีก


Stein am Rhein - ชไตน์ อัม ไรน์ เมืองเล็ก ๆ น่ารัก ที่ถูกอนุรักษ์ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินกับ ศิลปะฝาผนังที่ยังสวยงาม บ้านเรือนแบบเก่า ผู้คนน่ารัก เมืองที่อยู่ข้าง ๆ แม่น้ำไรน์นี้ จะทำให้คุณหลงรักตั้งแต่แรกที่ได้พบ

Rheinfalls - น้ำตกไรน์ น้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เป็นน้ำตกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่คุณสามารถเดินเลียบชมความงามได้ทั้ง 2 ฝั่ง โดยมดจะพาข้ามฝั่งด้วยเรือเล็ก ที่จะพาคุณไปใกล้ชิดน้ำตกแบบละอองพรมหน้าค่ะ

Luzern - ลูเซิร์น เมืองที่คนสวิสลงความเห็นว่าเป็นเมืองน่าอยู่อันดับต้น ๆ ค่ะ เพราะมีครบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ภูเขา ทะเลสาบ และเมืองเก่า

Bern - เบิร์น เมืองหลวงของสวิส ที่มีส่วนเมืองเก่าอันเป็นมรดกโลก และมีถนนช็อปปิ้งที่ยาวที่สุด

Zurich - ซูริค เมืองที่หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นเมืองหลวงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพราะศูนย์รวมเศรษฐกิจทั้งหลายรวมอยู่ที่เมืองนี้หมด

St. Gallen - ซังท์ กัลเล่น เมืองที่เข้มแข็งทางศาสนา และมีห้องสมุดที่เก่าแก่งดงาม ที่ถูกอนุรักษณ์ให้เป็นมรดกโลก

Appenzell - อัพเพินเซล เมืองเล็ก ๆ ที่มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม และเรื่องเล่าขานในตำนาน




วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วันนี้เรียนอะไรไปบ้าง

เรียนเรื่องซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software)
เป็นซอฟแวร์ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านมีการใช้งานหลายรูปแบบ ดังนี้
1.ซอฟแวร์สำเร็จรูป ใช้งานทั่วไป ไม่เจาะจงผู้ใช้
2.ซอฟแวร์ที่ใช้งานเฉพาะด้าน
3.แชร์แวร์ เป็นซอฟแวร์ทดลองใช้ที่มีลิชสิทธิ์ ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ ถ้าต้องการใช้แบบเต็มรูปแบบก็ต้องจ่ายเงินซื้อ
4.ฟรีแวร์ เป็นซอฟแวร์มีลิขสิทธิ์ที่สามารถนำไปใช้ได้ฟรี ไม่เสียเงิน แต่ห้ามนำไปแลกเปลี่ยนซื้อขาย
5.ซอฟแวร์สาธารณะไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้ และไม่เสียค่าใช้จ่าย
ประเภทการใช้งานซอฟแวร์ประยุกต์
1.ซอฟแวร์ประมวลคำ ใช้พิมพ์เอกสาร สามารถจัดรูปแบบต่างๆ ของเอกสารได้
2.ซอฟแวร์ตารางงานหรือซอฟแวร์ตารางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการคิดคำนวณที่ซับซ้อน
3.ซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูล ใช้ในการจัดการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
4.ซอฟแวร์นำเสนอ ใช้นำเสนอข้อมูล
5.ซอฟแวร์ช่วยออกแบบ ใช้ออกแบบงานต่างๆ
6.ซอฟแวร์จัดหน้าเอกสารและการพิมพ์
7.ซอฟแวร์แต่งภาพ
8.ซอฟแวร์ที่ใช้สำหรับการศึกษา
9.ซอฟแวร์ที่ใช้สร้างเว็บเพจ
10.ซอฟแวร์เกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปัญหาโลกร้อนและน้ำมันแพง

จากปัญหาโลกร้อนและน้ำมันแพง นิสิตคิดว่าเราจะนำเอาไอทีมาช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้เพื่อช่วยให้เราใช้ชีวิต
อย่างปกติสุขได้อย่างไร?

จากความคิดของดิฉัน ดิฉันจะใช้คลื่นสัญญาณแม่เหล็กที่สั่งการจากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่งสัญญาณไปทั่วทุกบ้านเรือนเตือนเกี่ยวกับปัญหาของโลกร้อนและน้ำมันแพงในปัจจุบันให้มีการปิดไฟ ปิดน้ำ เพื่อเป็นการประหยัดในทางหนึ่งเพราะมนุษย์ในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารหรือใช้หาข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างหลากหลายเพราะฉะนั้นการส่งคลื่นสัญญาณไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ในครัวเรือนน่าจะเป็นเรื่องดี สำหรับในปัจจุบันนี้ได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อลดปัญหาโลกร้อนแต่ก็ทำได้ยาก นี่อาจจะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าอย่างฟุ่มเฟือยตระหนักขึ้นมาบ้างก็เป็นได้ ส่วนปัญหาน้ำมันแพงคงแก้ไขกันได้ยากหน่อยเพราะปัจจุบันในโลกของเรามีเทคโนโลยีมากขึ้นพอๆกับจำนวนความต้องการของมนุษย์ และการใช้น้ำมันนั้นก็เป็นความสะดวกสบายในยุคนี้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาสิ่งใดมาหยุดยั้ง

สรุป
มนุษย์ควรใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและพอเพียง มีเท่าไหนก็ใช้เท่านั้น ลดการผลิตเทคโนโลยีลงใช้จักรยานแทนรถมอเตอร์ไซด์ ใช้อากาศธรรมชาติแทนแอร์คอนดิชันเนอร์เป็นต้นคงไม่มีสิ่งใดที่จะทำลายโลกของเราได้ถ้าเรารวมใจช่วยกันประหยัดทั้งน้ำและไฟเพื่อการอยู่อย่างเป็นสุข

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ความหมายของ Hard disk

ความหมายของฮาร์ดดิสก์

ฮาร์ดดิสก์คืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือเป็นโปรแกรมที่สำคัญมากที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้ไม่สามารถมองเห็นตัวฮาร์ดดิสก์จากภายนอกได้ ถ้าต้องการดูจำเป็นต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องออกจึงจะมองเห็น และเนื่องจากฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆดังนั้นความจุของตัวฮาร์ดดิสก์จึงเป็นส่วนสำคัญมากในการเลือกนำมาใช้งาน และโปรแกรมในสมัยปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็น windows หรือโปรแกรมอื่นๆมักมีขนาดใหญ่จึงต้องเลือกตัวฮาร์ดดิสก์ที่มีหน่วยเป็น กิกะไบต์ (GB : Gigabyte)

ลักษณ์ของการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์มีศัพท์เฉพาะที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า อินเตอร์เฟส (Interfece) สามารถแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ประเภท

1. IDE และ E-IDE
การเชื่อมต่อแบบ IDE (integrated Drive Electronics) เป็นการเชื่อมต่อแบบเก่า ที่มีข้อจำกัดรองรับการทำงานของฮาร์ดดิสก์ได้เพียงแค่ 528 เมกกะไบต์ ส่วน E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) คือพัฒนาการของ IDE นั่นเอง สามารถรองรับการเชื่อมต่อในระดับ กิกะไบต์ และปัจจุบันการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ มักนิยมใช้แบบ E-IDE

2. SCSI
การเชื่อมต่อแบบ SCSI (Small Computer System Interface) เป็นการเชื่อมต่อแบบความเร็วสูง นิยมใช้กับระบบเครือข่ายการและการเชื่อมต่อแบบ SCSI นี้จะต้องมีการ์ด SCSI ติดตั้งภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ด้วย


ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากการมีฮาร์ดดิสก์ติดตั้งในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์คือถ้าหากว่าเราไม่มีฮาร์ดดิสก์ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วล่ะก็ เวลาเปิดเครื่องเราต้องมานั่งเขียนโปรแกรมเป็นพันๆหมื่นๆบรรทัดเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน พอเราปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ก็ต้องเขียนโปรแกรมนั้นอีกเพราะไม่มีตัวเก็บข้อมูลความจำนั้น ฮาร์ดดิสก์ก็คือตัวเก็บข้อมูลสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และสะดวกในการใช้งานอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

The 1st page

สวัสดีค่ะคุณหน้าแรกของบลอค

วันนี้เรียนเรื่อง Hz,MHz และ GHz
เข้าใจความหมายของคำว่า Hz ว่าแปลว่าอะไร
คำนวนการหา Hz (หน่วยวัดความเร็วรอบของ CPU)
จำนวนคำสั่งที่ CPU จะสามารถประมวลผลได้ใน 1 วินาที

การสมัคร gmail เพื่อจะสร้างบลอคเป็นของตัวเอง

การทำงานในแต่ละส่วนของคอมพิวเตอร์

----------------------------------------

เดี๋ยวเราจะมาต่อเรื่องของฮาร์ดดิสนะคร้า